วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การพัฒนาตนเองในงานอาชีพ...


การพัฒนาตนเองในงานอาชีพ



    การพัฒนาตนเองในงานอาชีพ หมายถึง การที่ผู้คนกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในชีวิตของตนเองไว้ล่วงหน้า ว่าจะต้องการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาอะไรอย่างไร และหาแนวทางในการแก้ไขด้วยตัวเอง พร้อมทั้งให้รางวัลแก่ตนเองเมื่อแก้ไขพัฒนาตนเองบรรลุเป้าหมายแล้ว เพื่อเป็นการกระตุ้นแก่ตนเอง ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการฝึกฝนให้เกิดการพัฒนาอย่างเสมอ และเริ่มรู้ถึงคุณค่าของการปรับเปลี่ยนตนเอง ทำให้เกิดความราบรื่นและทำงานอย่างมีความสุข






                         
                             




ความสำคัญของการพัฒนาตนเองในงานอาชีพ

ความสำคัญของการพัฒนาตนเองในงานอาชีพ คือ บุคลทุกๆคนในทุกๆด้าน ต่างก็ต้องการที่จะพัฒนาตนเอง ให้เหมาะสมกับหน้าที่ภาระงานอาชีพ เพื่อสามารถดำเนินชีวิตการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้เท่าทันกับการพัฒนาของสังคมโลก



ความสำคัญของตนเองในการพัฒนาอาชีพมีดังนี้

ความสำคัญต่อตนเอง

1. เตรียมตนเองให้พร้อมทุกด้าน เพื่อรองรับต่อสถานการณ์ด้วยความรู้สึกที่ดี

2. ปรับปรุงสิ่งที่บกพร่อง และพัฒนาพฤติกรรมให้เหมาะสม โดยขจัดคุณลักษณะที่ไม่ต้องการออก พร้อมกับเสริมสร้างคุณลักษณะที่สังคมต้องการ

3. วางแนวทางให้พัฒนาไปสู่เป้าหมายด้วยความมั่นใจ โดยส่งเสริมความรู้สึก คุณค่าแห่งตนให้สูงขึ้น เข้าใจตนเอง และทำหน้าที่ตามบทบาทได้

ความสำคัญต่อบุคคลอื่น

1. เนื่องจากบุคคลในสังคมมีความเชื่อมโยงกัน การปรับปรุงและพัฒนาตนเองจึงเป็นการเตรียมตัวเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อผู้ที่ติดต่อด้วย ทั้งบุคคลในครอบครัวและเพื่อนในที่ทำงาน

2. เป็นตัวอย่างอ้างอิงให้เกิดการพัฒนาแก่บุคคลอื่น เป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งชีวิตส่วนตัว การทำงาน และอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในชุมชน อันจะส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ความสำคัญต่อสังคม

1. แข่งขันในเชิงคุณภาพและประสิทธิภาพกับสังคมอื่นได้สูงขึ้น ทำให้เกิดความมั่งคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยมีวิธีคิดและทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพของผลผลิต

2. ขจัดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น อันทำให้เกิดความก้าวหน้าทั้งต่อตนเองและสังคมโดยรวม





การเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่งานอาชีพ

การเตรียมตัวเองเข้าสู่งานอาชีพมีความสำคัญอย่างมากต่อการประกอบอาชีพ ซึ่งหากมีการเตรียมการที่ดีย่อมส่งผลให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ ดังนั้น การเตรียมตัวเองเข้าสู่งานอาชีพ มีวิธีการดังนี้

1.การเตรียมตัวขณะกำลังศึกษา

1. การเตรียมตัวด้านความรู้วิชาการ เป็นการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพปการปฏิบัติตนรวมถึงทฤษฎีในงานอาชีพ

2. การเตรียมตัวประสบการณ์ชีวิต การที่จะได้รับประสบการณ์จะต้องทำกิจกรรมนอกหลักสูตรการเรียนอย่างเป็นระบบ เช่น ศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับรางวัล ร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือชมรมต่างๆตามที่ตนเองสนใจ และเพื่อให้บรรลุถึงวิชาชีพที่เป็นเป้าหมาย ควรหมั่นศึกษาหรือเข้าอบรมดูงาน ในงานที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพที่ตัวเองสนใจ

3. การฝึกฝนความสามารถพิเศษ เป็นการฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพต่างๆ เช่น สามารถขับรถยนต์ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ สามารถพูดภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น เพื่อเป็นการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และความสามารถเหล่านี้ก็สามารถนำใช้ในงานอาชีพได้อีกด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของตัวเองอีกช่องทางหนึ่ง





2. การเตรียมตัวภายหลังจบการศึกษา

หลังจากสำเร็จการศึกษา เราจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมในความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพที่เราต้องการ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การประกอบอาชีพและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีวิธีการปฏิบัติดังนี้

1. การศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะความรู้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพในยุคปัจจุบัน เช่น เข้ารับการอบรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมต่างๆเพื่อสามารถนำมาใช้ต่อยอดในการงานได้ อบรมภาษาต่างประเทศที่จำเป็นเพื่อพบปะกับบุคลต่างเชื้อชาติที่ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยได้เข้าสู่ ยุคอาเซียนแล้วทำให้มีผู้คนจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาในประเทศ เป็นต้น

2. การเตรียมตัวความรู้เรื่องงานที่จะทำก่อนทำงานนั้นๆเราจำเป็นต้องรู้เสียก่อนว่างานที่จะทำนั้นเกี่ยวกับอะไร มีบทบาทอย่างไร เป็นการเตรียมการเกี่ยวกับตำแหน่งงานเพื่อให้ลดความกดดันเมื่อเข้ามาใหม่ๆ และเป็นการเสริมความรู้ไปภายในตัวเพื่อทำบทบาทของตนเองได้ หน้าที่ความรับผิดชอบของงานเพื่อให้รู้ถึงงานนั้นเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างไร ความรู้ความสามารถที่จะใช้ในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ หากไร้ซึ่งความรู้ความสามารถ ก็ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ดีทำให้เกิดขอบกพร่องในงานการ รวมถึงผลตอบแทนที่จะได้รับขึ้นอยู่กับการทำงานและตำแหน่งที่เป็น






3. การเตรียมความรู้ด้านตลาดแรงงาน เราต้องหาช่องทาง หาตำแหน่งงานที่สนใจ จากแหล่งต่างๆ เช่น จากหนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ เพื่อให้สามรถสืบหาวิชาชีพที่ตนเองสนใจได้อย่างสะดวก บางงานนั้นจะเปิดรับสมัครแต่ไม่มีบุคลอื่นรู้นอกจากบุคลภายใน ทำให้ยากต่อการเข้าถึง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ควรมีการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งงานหลายๆแหล่งด้วยกันเพื่อได้เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ทั้งงานการ ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร บางสื่อข้อมูลก็จะมีการบ่งบอกถึง รายได้ที่จะได้รับจาการทำงาน ในตำแหน่งนั้นๆ เป็นต้น

\


                                 
                                     




3. การเตรียมตัวสมัครงาน

การเตรียมตัวสมัครงาน เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลิกภาพ การเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆเพื่อป้องการความผิดพลาดเมื่อไปสมัคร ในวันที่สมัครผู้คนต่างตื่นเต้น ร้อนรน ทำให้เกิดความสับสนบ้างก็ลืมเอกสาร บ้างก็ลืมถึงการสมัครงานจนทำอะไรไม่ถูกซึ่งมีวิธีการเตรียมดังนี้

1. การเตรียมความพร้อมด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ การฝึกปรับปรุงกิริยา มารยาท การพูด การเดิน รวมถึงการแต่งกาย เพื่อให้ตนเองมีบุคลิกที่ดีที่สุด และเป็นที่ยอมรับของบุคลที่เราไปสมัครงานด้วย เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความมุ่งมั่นที่จะประกอบวิชาชีพนี้

2. การเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ใบรับรอง วุฒิการศึกษา บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน รูปถ่าย เป็นต้น เพื่อความไม่ประมาทเมื่อไปสมัครงาน





ทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ

การประกอบอาชีพทุกชนิด ต้องมีความรู้ ความสามรถเฉพาะในอาชีพนั้นๆ และมีทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะสามรถประกอบอาชีพนั้นๆ ได้สำเร็จ ทักษะที่จำเป็นที่ควรพัฒนาตัวเองในการประกอบอาชีพมีดังนี้





1. ทักษะกระบวนการทำงาน

ทักษะกระบวนการทำงาน เป็นการเรียนรู้กระบวนการทำงานและลงมือปฏิบัติงานด้วยตนเองโดยมุ่งเน้นการฝึกวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ ทั้งการทำงานเป็นรายบุคคลและการทำงานเป็นทีม หากไร้ซึ่งประสบการความรู้ ก็ไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้

2. ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา

ในการทำงานต้องประสบกับปัญหา เราต้องหาทางจดการแก้ปัญหา เข้าใจปัญหา และคิดแก้ปัญหานั้นได้อย่างเด็ดขาดทันท่วงที โดยมีวิธีการแก้ปัญหาดังนี้

1. การสังเกต วิธีการศึกษาโดยอาศัยการเฝ้าคอยดูสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการทดลองและความพยายามค้นหาผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้

2. การวิเคราะห์และแยกแยะปัญหา การกำหนดรายละเอียดของปัญหา คือการทำความเข้าใจกับปัญหา เพื่อเเยกข้อมูลว่ามีปัญหาอะไร สิ่งที่ต้องการแก้ไขมีอะไรบ้าง

3. สร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว มองเห็นสิ่งที่ต้องการคืออะไร แล้วดำเนินการคิดค้นหาวิธีการทำงานที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมี ประสิทธิภาพว่า มีทางเลือกอะไรบ้าง

4. ประเมินทางเลือกหรือวิธีในการแก้ปัญหา เมื่อสร้างทางเลือกที่หลากหลายได้หลายวิธีแล้วก็สรุปหรือประเมินว่าวิธีไหนเหมาะสมหรือดีที่สุดที่จะใช้ทำงาน สร้างหรือผลิตชิ้นงาน และการซ่อมแซมปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานไห้มีสภาพการใช้งานให้มีสภาพการใช้งานได้เป็นอย่างดี สมารถตัดสินใจได้แล้วว่าจะทำงานชนิดใด หรือ เรื่องใด







3. ทักษะการทำงานร่วมกัน

ในการทำงานเราไม่สามารถทำงานเพียงลำพังคนเดียวได้ ต้องมีการประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงาน ซึ่งการประสานงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จะต้องเริ่มจากการสร้างสัมพันธ์ที่ดี ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น จึงจะช่วยให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี แต่ก็อาจมีบางคนที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ ซึ่งก็ส่งผลทำให้เกิดปัญหาในการทำงานตามมา และอาจส่งผลกระทบไปถึงคุณภาพของงานอีกด้วย ดังนั้นพฤติกรรมการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรมี อาจจะด้วยการฝึกฝน ปรับทัศนคติ มุมมอง แนวคิด มองโลกในแง่บวก หรือด้านอื่นๆ เพื่อให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และเมื่อคุณได้รับความร่วมมือจากบุคคลอื่นๆ ก็ส่งผลทำให้คุณมีความสุข สนุกกับงานที่ทำ และอาจส่งผลไปยังหน้าที่การงานของคุณได้อีกด้วย







4. ทักษะการแสวงหาความรู้

ทักษะการแสวงหาความรู้ คือ การค้นคว้าหาความรู้ และสามารถสร้างความรู้ใหม่เพิ่มเติมได้อาจจะมาจากการคิด การศึกษา การทดลอง การค้นคว้า หรือปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้เดิมที่มีอยู่ โดยการศึกษาค้นคว้านั้น ไม่จำกัดว่าจะมาจากแหล่งความรู้ใด อาจเป็นความรู้ในห้องเรียน ความรู้ตามป้ายสถานที่ต่างๆไปจนสื่ออื่นๆ

5. ทักษะการจัดการ

ทักษะการจัดการเป็นการจัดระบบงานและระบบคน
เพื่อให้สามารถทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายโดยเน้นการวางตัวบุคคลให้เหมาะสม
กับงานหรือให้คนทำงานตามความสามารถดังคำกล่าวที่ว่า Put the right man
on the right job ดังนั้นทักษะการจัดการจึงหมายถึง กระบวนการดำเนินงานอย่างใด
อย่างหนึ่งเป็นระบบโดยเริ่มตั้งแต่การวางแผนดำเนินงาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ
ตามหน้าที่อย่างสร้างสรรค์และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่น มีประสิทธิภาพ
และเกิดประสิทธิผลสูงสุดรวมไปถึงการประเมินงานเพื่อปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนา
งานให้ดียิ่งขึ้น



กระบวนการในการจัดการ มีองค์ประกอบ คือ

1. การวางแผน (Planning)

2. การจัดองค์กร (Organization)

3. การบังคับบัญชา (Commanding)

4. การประสานงาน (Co-ordinating)

5. การควบคุม (Controlling)



\                                  




ประโยชน์ของการพัฒนางานอาชีพ มีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์

1. เพื่อให้มีบุคลากรที่ต้องการประกอบในงานอาชีพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงมีความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพื่อให้ตนเองมีความรู้ความสามรถที่เพียบพร้อมก่อนที่จะเข้าประกอบงานอาชีพที่สนใจ

3. สามารถพัฒนาต่อยอดจากที่เคยเป็นทำให้ไม่ไม่ความตึงเครียดในการทำงาน

4.ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมาย





อ้างอิง https://freefirst.weebly.com/35853634361936143633360236093634360536093648362935913651360935913634360936293634359436373614.html


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น